การฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยชีววิธี
Bioremediation
หมายถึง การฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนของสารพิษต่าง ๆ โดยวิธีชีวภาพ เป็นกระบวนการนำจุลินทรีย์มาใช้ในการป้องกัน กำจัดหรือลดปริมาณสารมลพิษทั้งที่เป็นสารอินทรีย์และสาร อนินทรีย์ซึ่งปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม
การย่อยสลายทางชีวภาพ (biodegradation)
หมายถึง วิธีการรีไซเคิลของเสียจากธรรมชาติหรือย่อยสลายสารอินทรีย์ด้วยกิจกรรมของจุลินทรีย์ไปเป็นโมเลกุลที่เล็กลงหรือเปลี่ยนไปเป็นสารอาหารที่สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ สามารถนำไปใช้ได้
co-metabolism
หมายถึง
ความหลากหลายของการย่อยสลายทางชีวภาพซึ่งจุลินทรีย์เปลี่ยนโครงสร้างของสารปนเปื้อนแม้ว่าสารปนเปื้อนจะไม่สามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานหลักสำหรับการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต
ในการย่อยสลายสารปนเปื้อนจุลินทรีย์จำเป็นต้องมีสารประกอบอื่น ๆ (สารตั้งต้นหลัก)
ที่สามารถรองรับการเติบโตของพวกมันได้
หมายถึง พื้นที่ปนเปื้อนที่ไม่ได้ดำเนินการทำความ สะอาดตามมาตรฐานหรือระดับของการปนเปื้อนที่สถานที่นั้นมีค่าสูงกว่ามาตรฐานที่กำหนด
การฟื้นฟูน้ำใต้ดิน (groundwater remediation)
หมายถึง การลดหรือกำจัดสิ่งอันเป็นมลพิษที่ปนเปื้อนในน้ำใต้ดินในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
และ/หรือพื้นที่รอบข้าง เพื่อป้องกันไม่ให้การปนเปื้อนนั้นก่ออันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
โลหะหนัก (heavy metals)
หมายถึง
กลุ่มโลหะที่มีความเป็นพิษแบบสะสมและมีค่าความถ่วงจำเพาะมากกว่า 4 หน่วย ได้แก่ ทองแดง นิกเกิล สังกะสีโครเมียม แคดเมียม ปรอท ตะกั่ว และอาร์เซนิก
intrinsic bioremediation
หมายถึง ประเภทของการบำบัดทางชีวภาพที่สามารถเกิดโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ตามธรรมชาติเพื่อลดการปนเปื้อนโดยไม่ต้องทำตามขั้นตอนทางวิศวกรรมเพื่อปรับปรุงกระบวนการ
สารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอน (petroleum hydrocarbon)
หมายถึง
สารประกอบอินทรีย์ที่มีองค์ประกอบของคาร์บอนและไฮโดรเจน ซึ่งพบได้ในน้ำมันปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่มีจำหน่ายในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
สารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (persistent organic pollutants) หรือสาร POPs
หมายถึง
สารประกอบเคมีที่มีคาร์บอน และธาตุในหมู่ฮาร์โลเจน (halogen) เป็นองค์ประกอบ เช่น คลอรีน (chlorine), ฟลูออร์รีน
(fluorine), โบรมีน (bromine) และไอโอดีน
(iodine)
การฟื้นฟูดิน (soil remediation)
หมายถึง การกำจัดสิ่งอันเป็นมลพิษหรือสิ่งปนเปื้อนในมวลดินในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
และ/หรือพื้นที่รอบข้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
ไตรคลอโรเอทีลีน (trichloroethylene)
หมายถึง
ตัวทำละลายที่เป็นของเหลวใส ไม่มีสี กลิ่นคล้ายอีเทอร์และคลอโรฟอร์ม คุณสมบัติที่สามารถละลายไขมันได้ดีจึงเหมาะกับงานทำความสะอาดคราบไขมัน
เช่น ทำความสะอาดผิวโลหะในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมซักแห้ง
นอกจากนั้นยังใช้ผสมสีและกาว น้ำยาลบคำผิดและหมึกด้วย
สารอินทรีย์ระเหยง่าย (volatile organic compounds, VOCs)
หมายถึง สารประกอบอินทรีย์ที่มีคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบหลักซึ่งมีจุดเดือดอยู่ระหว่าง
50-260
องศาเซลเซียส โดยปกติสาร VOCs จะอยู่ในรูปของก๊าซหรือไอ
เทคโนโลยีดั้งเดิมที่ใช้ในการบำบัดสารพิษหรือฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อน มักทำโดยการขุดเอาดินที่มีสารมลพิษปนเปื้อนออกจากพื้นที่นั้น แล้วนำไปเผาหรือฝังกลบในพื้นที่อื่น หรืออาจทำโดยใช้วิธีการทางเคมีโดยการใส่สารเพื่อตรึงหรือจับสารมลพิษให้อยู่กับที่ ลดการแพร่กระจายไปยังแหล่งที่อื่น ซึ่งวิธีการทางด้านกายภาพและเคมีดังกล่าว มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสารมลพิษระหว่างการขนย้ายเพื่อไปบำบัดต่อ หรือสารเคมีที่ใช้ในการบำบัด อาจตกค้างในตัวกลางทางสิ่งแวดล้อมได้
เทคโนโลยีการฟื้นฟูทางชีวภาพ (bioremediation
technology) เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ใช้กระบวนการย่อยสลายทางธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต ได้แก่
จุลินทรีย์ พืช หรือวัสดุชีวภาพในการบำบัดสารปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม และเป็นเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ใช้งบประมาณในการดำเนินการน้อย ทำให้เป็นที่ยอมรับของสาธารณชน
ในกรณีที่จะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในพื้นที่จริง สารก่อมลพิษที่สามารถกำจัดได้ด้วยกระบวนการทางชีวภาพนั้นมีหลายชนิด
เช่น น้ำมันและผลิตภัณฑ์ polycyclic
aromatic hydrocarbons (PCB) และ trichloroethylene (TCE) (รูปที่ 7.1) ซึ่งสารเหล่านี้มีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ส่วนโลหะหนักแม้ว่าจะไม่สามารถถูกย่อยได้โดยจุลินทรีย์
แต่จุลินทรีย์ก็สามารถเปลี่ยนรูปและทำให้ความเป็นพิษของโลหะหนักลดลงได้ ดังนั้นจึงมีการประยุกต์ใช้กระบวนการทางชีวภาพในการลดความเป็นพิษของโลหะหนักเช่นเดียวกัน สำหรับการเลือกใช้การกำจัดสารมลพิษด้วยกระบวนการชีวภาพมีเหตุผลหลักมาจากต้นทุนค่าใช้จ่าย
เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการบวนการนี้จะน้อยกว่าเทคโนโลยีอื่น ๆ ทั้งยังได้รับการยอมรับจากสาธารณชนอีกด้วย
รูปที่ 1 กระบวนการ cometabolism ในการย่อยสลาย TCE ด้วยจุลินทรีย์
ที่มา: Kumar et al. (2018)
ประเภทเทคโนโลยีการฟื้นฟูทางชีวภาพ
1. การฟื้นฟู
ณ ที่ปนเปื้อน (in
situ bioremediation)
เป็นเทคโนโลยีการฟื้นฟูโดยการบำบัดสารเคมีที่ปนเปื้อนในพื้นที่โดยไม่มีการเคลื่อนย้ายตัวกลางไปที่อื่น
ซึ่งมีค่าใช้จ่ายน้อย
และระบบของจุลินทรีย์ประจำถิ่น (indigenous microflora) ถูกรบกวนน้อยอีกด้วย
แต่ก็มีข้อจำกัดคือ บางปัจจัยไม่สามารถความคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ อัตราการย่อยสลายสารมลพิษมักจะถูกจำกัดด้วยความลึกของดินที่ปนเปื้อนสารก่อมลพิษ
ซึ่งอาจจะทำให้จุลินทรีย์ที่ต้องการอากาศ
ไม่สามารถทำหน้าที่ในการย่อยสลายสารมลพิษได้อย่างเต็มที่
เป็นเทคโนโลยีการฟื้นฟูโดยการเคลื่อนย้ายตัวกลางที่ปนเปื้อนไปบำบัดหรือกำจัดต่อในสถานที่อื่น ๆ โดยการตัก (excavation) ดินที่ปนเปื้อนออกไปนอกพื้นที่ ซึ่งสามารถควบคุมปัจจัยต่าง ๆ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็มีข้อจำกัดคือค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น
เนื่องจากต้องมีการขนย้าย (handling)
และในการขนย้ายจะต้องป้องกันไม่ให้สารก่อมลพิษแพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม
เอกสารอ้างอิง
Jampasri K.,
Saeng-ngam S., Larpkern P., Jantasorn A. & Kruatrachue M. (2021).
Phytoremediation potential of Chromolaena odorata, Impatiens patula,
and Gynura pseudochina grown in cadmium-polluted soils. International
Journal of Phytoremediation. 1-6. DOI: 10.1080/15226514.2021.1876626.
Jampasri K., Pokethitiyook
P., Poolpak T., Kruatrachue M., Ounjai P. & Kumsopa A. (2020). Bacteria-assisted phytoremediation of fuel oil
and lead co-contaminated soil in the salt-stressed
condition by Chromolaena odorata and Micrococcus luteus. International Journal of Phytoremediation.
22(3): 322–333.
Jampasri K. and Saeng-ngam
S. (2019). Phytoremediation and accumulation of cadmium from contaminated saline soils by vetiver
grass. Environmental Control in Biology. 57(3): 61–67.
Jampasri K. and
Saeng-ngam S. (2017b). Phytoremediation of heavy metal and total petroleum
hydrocarbon co-contaminated soil under salinity condition. Srinakharinwirot
Science Journal. 33(2): 229–246.
Jampasri K., Sittiwongpeng K. & Raknak
K. (2017a). Effect of salinity on the growth and cadmium accumulation of Vetiveria
nemoralis. Environment and Natural Resources Journal. 15(2): 62–70.
Jampasri K., Pokethitiyook P.,
Kruatrachue M., Ounjai P. & Kumsopa A. (2016). Phytoremediation of fuel oil
and lead co-contaminated soil by Chromolaena odorata in associates with Micrococcus
luteus. International Journal of Phytoremediation.
18(10): 994–1001.
Jin Y., Luan Y., Ning Y. & Wang L.
(2018). Effects and mechanisms of microbial remediation of
heavy
metals in soil: A critical review. Applied Sciences. 8(8): 1336. 1–17.
Jianxu
W., Xinbin F., Christopher W. N. A., Ying X. & Lihai S. (2012). Remediation
of mercury contaminated sites-a
review. Journal of Hazardous Materials. 221–222: 1–18.
Jing
Y. X., Yan J. L., He H. D., Yang D. J., Xiao L., Zhong T., Yuan M., Cai X. D.
& Li S. B. (2014).
Characterization of bacteria in the
rhizosphere soils of Polygonum pubescens and their potential in promoting growth and Cd, Pb, Zn uptake by Brassica
napus. International
Journal of Phytoremediation. 16: 321–333.
Kalve
S., Sarangi B. K., Pandey R. A. & Chakrabarti T. (2011). Arsenic and
chromium hyperaccumulation by an ecotype
of Pteris vittata-prospective for phytoextraction from contaminated water and soil. Current
Science. 100: 888–894.
Koptsik G. N.
(2014). Problems and prospects concerning the phytoremediation of heavy metal polluted soils: a review. Eurasian
Soil Science. 47: 923–939.
Kumar
V., Shahi S. K. & Singh S. (2018). Bioremediation: An Eco-sustainable Approach for Restoration of Contaminated Sites. In: Chandra R., Dubey N. K.
& Kumar V. (eds.), Microbial
Bioprospecting for Sustainable Development. Publisher: Springer, 115–136.