19 ตุลาคม 2555

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกกับการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ



ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและมีความถี่เกิดขึ้นกระจายไปหลายประเทศทั่วโลก การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลที่เกิดจากธารน้ำแข็ง (Glacier) และ น้ำแข็งจากขั้วโลก (Ice Caps) ละลาย เป็นผลมาจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ ผลกระทบต่อระบบนิเวศและความสมดุลย์ของหลากหลายทางชีวภาพ
โดยหลักการแล้วความสัมพันธ์ด้านชีวภาพจะเป็นพลังสร้างสรรค์ ให้มีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมากมายหลากหลายชนิด ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสูญหายไปจากชุมชน สิ่งมีชีวิตนั้นก็อาจส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลทางธรรมชาติ และอาจนำไปสู่การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่นั้นได้
อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นระหว่าง 1.0-3.5 องศาเซลเซียสในอีก 100 ปีข้างหน้า จะทำให้เขตภูมิอากาศปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะพื้นที่ในเขตอบอุ่น องค์ประกอบและการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตตามพื้นที่ของระบบนิเวศธรรมชาติจะเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบสนองต่อเงื่อนไขใหม่ ในเขตร้อนชื้นนั้น การเปลี่ยนแปลงของการระเหยของน้ำอาจมีผลต่อผลผลิตพืชและจำนวนสัตว์ รวมทั้งสัดส่วนของพันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์เป็นอย่างมาก ป่าบางชนิดอาจสูญสลายในขณะที่พันธุ์ใหม่อาจเกิดขึ้น ทำให้มีระบบนิเวศใหม่ได้ แต่จะมีการคุกคามของอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นอาจรวมถึงศัตรูพืช และไฟป่าที่เพิ่มขึ้น
         การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นเครื่องชี้ที่ชัดเจนอีกประการหนึ่งว่า สิ่งแวดล้อมธรรมชาติได้กลายเป็นเครื่องเซ่นสังเวยของความเจริญ อย่างไรก็ตามความหลากหลายทางชีวภาพในทางวิทยาศาสตร์หมายถึงความหลากหลายของระบบนิเวศ ความหลากหลายของชนิดสิ่งมีชีวิต และความหลากหลายของยีน (Gene) ในสิ่งมีชีวิตหนึ่ง แต่ความหลากหลายทางชีวภาพก็คือตัวธรรมชาติเองที่ประชากรนับพันล้านคนได้อยู่อาศัยใช้ดําเนินชีวิตรวมทั้งบรรษัทข้ามชาติจะหาประโยชน์จากมัน

เอกสารอ้างอิง
1. นาฎสุดา  ภูมิจำนงค์, รองศาสตราจารย์,การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. เอกสารคำสอน.คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์.มหาวิทยาลัยมหิดล,2549.
2. ทรัพยากรน้ำ, กรม. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก. สำนักส่งเสริมและประสานมวลชน.กรุงเทพ, 2550.
3. สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์, คณะ .การศึกษาและจัดทำรายงานแห่งชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ.มหาวิทยาลัยมหิดล , 2546.

การประชุมสัมมนาวิชาการประจำปี 2554 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม พิษวิทยาและการบริหารจัดการสารเคมี

การประชุมสัมมนาวิชาการประจำปี 2554 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม พิษวิทยาและการบริหารจัดการสารเคมี


 วิทยากร
รศ.ดร.จุฆามาศ สัตยวิวัฒน์ (สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์)
ดร.นุชนาถ รังคดิลก (สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์)
ดร.พนิดา นวสัมฤทธิ์ (สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์)
รศ.ดร.ประหยัด โภคฐิติยุกต์ (คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล)
ดร.สุวิสา มหาสันทนะ (คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล)
ผศ.ดร.สุวรรณา ภาณุตระกูล (คณะวิทยาศาสตร์ ม.บูรพา)
ดร.อภิญญา นวคุณ (คณะวิทยาศาสตร์ ม.บูรพา)
ผศ.ดร.พิชาญ สว่างวงศ์ (คณะวิทยาศาสตร์ ม.บูรพา)

Perspective in Environmental Health Research

ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม 2554

กำหนดการ

0830-0900 ลงทะเบียน
0900-0910 รศ.ดร.คุณหญิงมธุรส รุจิรวัฒน์ ผอ.ศูนย์ฯกล่าวรายงาน
0910-0915 รศ.ดร.ชัยยุทธ ขันทปราบ กล่าวเปิดการประชุม
0915-1010 บรรยายพิเศษ "Perspective in Environmental Health Research"
1010-1110 การบรรยายเรื่อง "แนวทางการดำเนินงานของศูนย์ฯ ระยะที่ 3"
1130-1230 การเสวนาเรื่อง "ผลงานวิจัยนพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด"

1330-1430 ชมโปสเตอร์วิชาการ
1430-1600 เสวนากลุ่มย่อยนักศึกษาเรื่อง "แนวทางการวิจัยของศูนย์ฯ ระยะที่ 3" มุมมอง ปัญหา การแก้ไขเกี่ยวกับ

- Climate Change
- Biofuel
- Food Safety

1630-1730 นำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อยของนักศึกษา
1830-2030 กิจกรรมเกมส์วิชาการ มอบรางวัลการประกวดโปสเตอร์ผลงานวิชาการ และการนำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อย

The 37th Congress on Science and Technology of Thailand

The 37th Congress on Science and Technology of Thailand (STT 37) during 10th – 12th October 2011 at Centara Grand & Bangkok Convention Centre, CentralWorld, Bangkok. 

STT is organized by Science Society of Thailand under the Patronage of His Majesty the King and Faculty of Science, Mahidol University.


Natural System as Innovative Wastewater Management Technology: 
By Prof. Chongrak Polprasert, Ph.D

Biodegradation of Pesticides at Contaminated Sites
By Anchana Pattanasupong, Ph.D

Bioaugmentation of Petroleum Contaminated Soil by Oil Degrading Bacteria: Micrococcus luteus WN_1:
By Assoc. Prof. Prayad Pokethitiyook, Ph.D

Environmental Radioactivity in Thailand after the Fukushima Daiichi Nuclear Power Plant Incident
By Yutthana Tumnoi, Ph.D

Innovative Observation of the Environment; Bioindicators and Biomonitors - Definitions, Strategies and Applications
By Prof. Brend Market, Ph.D

Algal Technology and UN Convention Combat Desertification
By Aparat Mahakhant, Ph.D

Metal Contents in Agricultural Products; Approached to Reduce Their Potential Adverse Health Effects
By Jutamaad Satayavivad, Ph.D

Phytoremediation: The Best Way to Solve Metal Pollution Problem
By Prof. Pornsawan Visoottiviseth, Ph.D

18 ตุลาคม 2555

Conference on Biocatalysts for Industrial Biotech 2012 in Germany

The Annual Meeting 2012 of the DECHEMA-VAAM-Section Biotransformations is scheduled to take place on April 24 and 25, 2012 at the DECHEMA House in Frankfurt/Main. As key theme "Catalyzing Bio-Economy - Biocatalysts for Industrial Biotechnology" has been selected.
When I graduate, I hope to be able to work with different people around the world regardless of what the actual work may be. I would like to be able to work in different countries and develop relationships through a life experience with a different language and learning together.


I am willing to learn anything and willing to accept differences in perception and opinions.

Low Carbon City

The Promotion of Low Carbon City across Thai Municipalities for Celebration of His Majesty the King 84th Birthday.
Project co-funded by European Union (EU)

Lab ฺBiO with Medical Student



Lab BiO with Biomedical Engineering Student


ติวเข้มชีววิทยา (PAT2) 2555 อัสสัมชัญธนบุรี





ความสำเร็จและความภูมิใจ



การตอบสนองและการเคลื่อนไหวของพืช


การเคลื่อนไหวที่เกิดจากการเจริญเติบโต (growth movement)
                > เกิดค่อนข้างช้าต่อเนื่องใช้เวลานาน
                > เป็นผลมาจากฮอร์โมนพืชเป็นส่วนใหญ่
      > เป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนน้อย
       การเคลื่อนไหวเนื่องจากสิ่งเร้าภายในของพืชเอง (autonomic movement)
> nutation movement         ปลายยอดเอนหรือแกว่งไปมา
> spiral movement               ปลายยอดบิดเป็นเกลียว 
การเคลื่อนไหวเนื่องจากสิ่งเร้าภายนอก (stimulus movement)

Tropism; การเคลื่อนไหวที่มีทิศทางสัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า
Nasty;      การเคลื่อนไหวของพืชโดยมีทิศทางไม่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า
สิ่งเร้า (Stimulus)
Tropism
Nastic movement
แรงโน้มถ่วง
แสง
สารเคมี
การสัมผัส
น้ำ
อุณหภูมิ
Gravitropism
Phototropism
Chemotropism
Thigmotropism
Hydrotropism
Thermotropism

None
Photonasty
Chemonasty
Thigmonasty
Hydronasty
Thermonasty













การเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับแรงดันเต่ง (turgor movement)
     > เกิดค่อนข้างเร็วใช้เวลาน้อย ผันกลับไปกลับมาได้
               > เป็นผลมาจากฮอร์โมนพืชเป็นส่วนใหญ่
o   Contact movement
> ตอบสนองเนื่องจากการสัมผัสได้รวดเร็วไม่ถาวร
> พืชทั่วไป เช่น การหุบและกางของใบไมยราบ
> พืชกินแมลง ได้แก่ ต้นกาบหอยแครงต้นหยาดน้ำค้าง ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง
o   Sleep movement
> ใบจะหุบในตอนเย็นหรือพลบค่ำ และจะกางใบออกตอนรุ่งเช้าเมื่อมีแสงสว่าง
> เช่น ก้ามปู กระถิน มะขาม จามจุรี ไมยราบ ผักกระเฉด แค
o   Guard cell movement
> เกิดจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำภายในเซลล์
> เช่นการเปิด-ปิดของปากใบ เนื่องจากน้ำแพร่เข้าไปในเซลล์คุม (guard cell)





วงปีไม้และการวิเคราะห์วงปีไ้ม้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ



การเจริญของลำต้นพืชในแต่ละช่วงทำให้เกิดเป็นวงปี (annual ring/tree ring)
  • วงปีเกิดจากการเจริญเติบโตทุติยภูมิของเนื่อเยื่อแคมเบียมในพืชใบเลี้ยงคู่ 
  • พบในรากและลำต้น แต่เห็นชัดในลำต้นมากกว่าในราก 
  • จำนวนวงก็จะมากน้อยตามอายุของต้นไม้
  • ฤดูฝน แคมเบียม ว่องไวแบ่งตัวเร็ว secondary  xylem จำนวนมาก เซลล์มีผนังเซลล์ค่อนข้างบาง (สีจาง)
  • ฤดูแล้ง(ร้อน+หนาว) แคมเบียม เฉื่อยชาจึงแบ่งตัวช้า (หรือไม่แบ่งเลย) ได้ secondary  xylem จำนวนน้อยและมีขนาดเล็กแต่มีผนังหนา (สีเข้ม)
  • วงปี ใช้บอกอายุต้นไม้   ใช้บอกข้อมูลปริมาณน้ำฝนที่ตกต่อเนื่องในแต่ละรอบปีจากอดีตถึงปัจจุบันได้  ใช้บอกทิศได้
      ในการสร้างแบบจำลองสภาพภูมิอากาศในอนาคต จะต้องเกิดจากการคาดคะเนข้อมูลในเชิงปริมาณน้ำฝนในอดีตเป็นเวลาหลายปี (ร้อยปี) แต่เนื่องจากการตรวจวัดปริมาณน้ำฝนของกรมอุตุินิยมวิทยาในอดีตนั้นยังขาดการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง และเป็นช่วงระยะเวลาอันสั้น จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ใช้ข้อมูลตัวแทน (proxy data) อย่างการวิเคราะห์วงปีไม้ หรือเทคนิคทางด้านรุกขกาลวิทยา (Dendrochronology) โดยการเจาะเอาไส้ไม้ตัวอย่าง (sample core) ด้วยสว่านเจาะวัดความเพิ่มพูน (Increment Borer) แล้วนำมาิวิเคราะห์ผลด้วยเครื่องอ่านวงปีไม้ด้วยระบบดิจิตอลในห้องปฏิบัติการวงปีไม้และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แล้วนำผลค่าเส้นดัชนีวงปีไม้มาใช้เป็นข้อมูลตัวแทน กล่าวคือ ลายเส้นบนเนื้อไม้ในแต่ละวงนั้นเกิดจากการได้รับอิทธิพลของปริมาณน้ำฝนที่แตกต่างกันในแต่ละรอบปี สามารถที่จะบ่งบอกได้ถึงสภาพภูมิอากาศในอดีต ทั้งปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิ ในช่วงเวลาที่กรมอุตุนิยมวิทยายังไม่ได้เริ่มจดบันทึกข้อมูล นอกจากนี้วงปีไม้ยังสามารถช่วยบ่งบอกถึงสภาพสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในอดีตในพื้นที่ที่ต้นไม้นั้นเจริญเติบโตเพื่อให้ทราบถึงสภาพแวดล้อมในอดีตว่ามีการ เปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง 

      วงปีไม้จึงเป็นหลักฐานหนึ่งที่ได้รับการพิสูจน์และทำการศึกษากันอย่างกว้าง ขวางในประเทศต่าง ๆ แล้วว่ามีศักยภาพ ในประเทศไทยเพิ่งมีการศึกษากันอย่างจริงจังและต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 และพบว่าต้นไม้ที่มีศักยภาพในการศึกษาข้อมูลตัวแทนของวงปีไม้นั้น ได้แก่ ไม้สักและไม้สนสองใบ เป็นต้น


แหล่งข้อมูล



1. ขวัญชัย ดวงสถาพร และคณะ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอดีตมากกว่า 200 ปี ในท้องที่ภาคกลาง ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยโดยสร้างจากวงปีต้นไม้. ภาควิชาการจัดการป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
         (http://rdi.ku.ac.th/kasetresearch54/GroupEnvironment/16-khwanchai_duang/template.html)
2. นาฏสุดา ภูมิจำนงค์. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านวงปีไม้และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นครปฐม. (http://www.en.mahidol.ac.th/TRC/index.html)