ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและมีความถี่เกิดขึ้นกระจายไปหลายประเทศทั่วโลก
การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลที่เกิดจากธารน้ำแข็ง (Glacier) และ น้ำแข็งจากขั้วโลก (Ice Caps) ละลาย เป็นผลมาจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ
ผลกระทบต่อระบบนิเวศและความสมดุลย์ของหลากหลายทางชีวภาพ
โดยหลักการแล้วความสัมพันธ์ด้านชีวภาพจะเป็นพลังสร้างสรรค์
ให้มีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมากมายหลากหลายชนิด
ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสูญหายไปจากชุมชน
สิ่งมีชีวิตนั้นก็อาจส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลทางธรรมชาติ
และอาจนำไปสู่การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่นั้นได้
อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นระหว่าง
1.0-3.5 องศาเซลเซียสในอีก 100 ปีข้างหน้า จะทำให้เขตภูมิอากาศปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะพื้นที่ในเขตอบอุ่น
องค์ประกอบและการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตตามพื้นที่ของระบบนิเวศธรรมชาติจะเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบสนองต่อเงื่อนไขใหม่ ในเขตร้อนชื้นนั้น การเปลี่ยนแปลงของการระเหยของน้ำอาจมีผลต่อผลผลิตพืชและจำนวนสัตว์
รวมทั้งสัดส่วนของพันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์เป็นอย่างมาก ป่าบางชนิดอาจสูญสลายในขณะที่พันธุ์ใหม่อาจเกิดขึ้น
ทำให้มีระบบนิเวศใหม่ได้ แต่จะมีการคุกคามของอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นอาจรวมถึงศัตรูพืช
และไฟป่าที่เพิ่มขึ้น
การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นเครื่องชี้ที่ชัดเจนอีกประการหนึ่งว่า
สิ่งแวดล้อมธรรมชาติได้กลายเป็นเครื่องเซ่นสังเวยของความเจริญ อย่างไรก็ตามความหลากหลายทางชีวภาพในทางวิทยาศาสตร์หมายถึงความหลากหลายของระบบนิเวศ
ความหลากหลายของชนิดสิ่งมีชีวิต และความหลากหลายของยีน (Gene)
ในสิ่งมีชีวิตหนึ่ง แต่ความหลากหลายทางชีวภาพก็คือตัวธรรมชาติเองที่ประชากรนับพันล้านคนได้อยู่อาศัยใช้ดําเนินชีวิตรวมทั้งบรรษัทข้ามชาติจะหาประโยชน์จากมัน
เอกสารอ้างอิง
1. นาฎสุดา
ภูมิจำนงค์, รองศาสตราจารย์,การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. เอกสารคำสอน.คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์.มหาวิทยาลัยมหิดล,2549.
2. ทรัพยากรน้ำ, กรม. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก. สำนักส่งเสริมและประสานมวลชน.กรุงเทพ, 2550.
3. สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์, คณะ .การศึกษาและจัดทำรายงานแห่งชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ.มหาวิทยาลัยมหิดล
, 2546.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น