30 ธันวาคม 2556

ฤดูที่แตกต่างกับการหลั่งฮอร์โมนในร่างกาย

         เป็นที่ทราบกันดีกว่าในช่วงอากาศหนาวมาเยือนในเดือนสุดท้ายของปีนั้น หลายคนมักจะรู้สึกอ่อนเพลียงง่วงนอนบ้างในเวลากลางวัน และจะไม่มีสมาธิในการเรียนหรือการทำงานในช่วงบ่าย อาการเช่นนี้เองที่เรียกกันว่า ความอ่อนล้าแห่งฤดูใบไม้ร่วง(ฤดูหนาวสำหรับประเทศไทย)
         
ที่มาของภาพ https://www.sciencephoto.com/image/316403/350wm/P7500060-Artwork_of_melatonin_secretion_by_pineal_gland-SPL.jpg

         สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ถือว่าเป็นเพียงปฏิกิริยาตามธรรมชาติของร่างกายในฤดูที่แตกต่างกันไปนั้นเอง ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า เมื่อฤดูร้อนผ่านไป ฤดูหนาวก้าวเข้ามา อากาศเปลี่ยนจากเดิมที่ร้อนระอุเป็นอากาศที่เย็นสบาย ร่างกายจะมีเหงื่อออกน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งร่างกายของคนเราจะเข้าสู่การปรับตัวไปตามวัฏจักร ทำให้ช่วงเวลานี้จะมีความรู้สึกว่าร่างกายเมื่อยล้าและอ่อนเพลียอย่างบอกไม่ถูก โดยในฤดูร้อนอากาศอบอ้าวเนื่องจากมีช่วงเวลาของกลางวันยาวนานกว่าเวลากลางคืน ซึ่งแสงอาทิตย์ที่เพียงพอจะสามารถช่วยยับยั้งการขับสารเคมีจากต่อมเล็กที่อยู่เหนือสมองส่วนหน้าไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) สารเคมีนั้นก็คือ เมลาโทนิน (Melatonin) จากต่อมไร้ท่อที่มีชื่อว่า ต่อมไพเนียล (Pineal gland)
         แต่หลังจากเข้าสู่ฤดูหนาว ระยะเวลาที่มีแสงอาทิตย์จะลดน้อยลง โดยเฉพาะในยามที่ฟ้ามืดหรือมีฝนตกต่อเนื่อง ต่อมไพเนียลนี้จะสามารถหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินออกมาได้มากกว่าปกติ และไปยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนไทรอกซิน (Thyroxine) และสารอะดรีนาลิน (Adrenaline) ทำให้ร่างกายไม่สดชื่น มีอารมณ์หม่นหมอง รู้สึกง่วงนอน ดังนั้นเมื่ออากาศในฤดูหนาวเย็นชื่น ก็ควรเปลี่ยนพฤติกรรมความเคยชินที่นอนดึกในช่วงฤดูร้อน โดยพยายามเข้านอนให้เร็วขึ้นกว่าปกติก็จะเป็นประโยชน์ต่อการผ่านคลายอาการง่วงนอน และจะทำให้ในเวลากลางวันนั้นสามารถทำงานหรือนั่งเรียนหนังสือได้นั้นเอง













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น